Translate

20 พ.ย. 2556

แนะนำโปรแกรมทัวร์


เกาะตะรุเตา - เกาะไข่ - เกาะราวี - อ่าวสอง - หินงาม - ร่องน้ำจาบัง - หลีเป๊ะ

โปรแกรมการเดินทาง


        -   เดินทางถึงท่าเทียบเรือปากบารา อำเภอ ละงู ท่าเทียบเรือปากบารา ลงเรือนำเที่ยวโดยเรือ Speed Boat สู่เกาะตะรุเตา
         -   ถึง เกาะตะรุเตา อัญมณีแห่งธรรมชาติที่เป็นที่ใฝ่ฝันของนักท่องเที่ยว ศูนย์รวมของความงามที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ทั้งบนเกาะและใต้น้ำ มีอ่าวมากมายกระจายอยู่รอบเกาะ หาดทรายขาวสวย และหาดหินที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว นำท่านนมัสการศาลเจ้าพ่อตะรุเตาและเยี่ยมชมศูนย์นิทรรศการแห่งชาติตะรุเตา พร้อมเก็บภาพบรรยากาศบริเวณอ่าวพันเตมะละกา
          -   ออกเดินทางต่อไปยัง เกาะไข่ ให้ท่านชมซุ้มประตูหินธรรมชาติ ที่ทอดโค้งจากผืนทรายจรดน้ำ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดสตูล
          -   ออกเดินทางต่อมุ่งหน้าสู่ เกาะหลีเป๊ะ เข้าที่พัก เก็บสัมภาระและเตรียมตัวเดินทางล่องทะเลอันดามัน สัมผัสโลกใต้น้ำอันสวยงามของทะเลสตูล โดยเริ่มจุดแรกกันที่ หาดทรายขาว เกาะราวี ที่มีหาดทรายขาวละเอียด และเวิ้งอ่าวที่สวยงาม รับประทานอาหารเที่ยง พร้อมเตรียมตัวลงเล่นน้ำ ดำน้ำดูปะการังบริเวณ อ่าวสอง หลังจากนั้นมุ่งหน้าต่อสู่ เกาะหินงาม ที่มีหาดหินเรียงร้อยกันเป็นหมื่นเป็นแสนก้อน ยามน้ำทะเลซัดขึ้นมา หินเหล่านี้จะเปียกชุ่มเปล่งประกายสีดำเข้มสะท้อนรับกับแสงตะวันดูสวยงามตระการตา

                        -   เดินทางต่อไปยังร่องน้ำจาบัง เกาะที่เต็มไปด้วยปะการังอ่อนเจ็ดสีที่งดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งในทะเลอันดามัน
         -  หลังจากอิ่มเอมกับทะเลอันดามันกันแล้ว เดินทางต่อไปยังเกาะหลีเป๊ะ เข้าที่พัก และเยี่ยมชมวิถีชีวิตชาวเลเผ่าอุรักลาโว้ย 



 แนะนำห้องพักที่น่าสนใจ !!!!

  
บันดาหยา รีสอร์ทโปรแกรมทัวร์ 2 วัน 1 คืน
ประเภทห้องพัก2 - 5 ท่าน6 - 9 ท่าน10 ท่านขึ้นไป
Standard Air4,7004,2004,000
Superior Bungalow5,0004,5004,300
Deluxe Bungalow5,2004,7004,500

เม้าเทิร์น รีสอร์ทโปรแกรมทัวร์ 2 วัน 1 คืน
ประเภทห้องพัก2 - 5 ท่าน6 - 9 ท่าน10 ท่านขึ้นไป
Air VIP5,3004,8004,600
Deluxe Sea View5,9005,4005,200
Grand Deluxe Sea View6,3005,8005,600

วารินทร์ รีสอร์ทโปรแกรมทัวร์ 2 วัน 1 คืน
ประเภทห้องพัก2 - 5 ท่าน6 - 9 ท่าน10 ท่านขึ้นไป
Air Garden5,5005,0004,900
Standard Air5,7005,2005,000
Air Villa5,9005,4005,200


แนะนำที่พักจ.สตูล




สิตา บีช รีสอร์ท แอนด์ สปา หลีเป๊ะ




ไอดีลลิค คอนเซปต์ รีสอร์ท




ริชชี่เฮ้าส์ รีสอร์ท





อันดารีสอร์ท




บันดาหยา รีสอร์ท 



17 พ.ย. 2556

การเดินทางไปยัง จ.สตูล


1.โดยรถไฟ
สตูลไม่มีสถานีรถไฟ แต่สามารถเดินทางโดยรถไฟ ขบวนกรุงเทพฯ-ยะลา หรือกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ ลงที่สถานี หาดใหญ่ จากนั้นจึงต่อรถแท็กซี่ รถตู้โดยสาร หรือรถโดยสารประจำทาง ไปยังจังหวัดสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดที่สถานีขนส่งสตูล โทร. 0 7471 1446 มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพง ไป สถานีหาดใหญ่ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690 www.railway.co.th

2.โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ไปสตูลโดยใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ผ่านประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นจึงเข้าทาง หลวงหมายเลข 41 ผ่านนครศรีธรรมราช พัทลุง แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ไปสงขลา จากนั้นแยกขวาเข้าทาง หลวงหมายเลข 406 จนถึงสตูล ระยะทางประมาณ 973 กิโลเมตร

3.โดยรถประจำทาง
มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน ออกจากสถานีขนส่ง สายใต้ ถนนบรมราชชนนี ไปสตูลทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 15 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th ทรัพย์ไพศาลทัวร์ โทร. 0 7472 3975 ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com

4.โดยเครื่องบิน
ไม่มีเที่ยวบินตรงจากกรุงเทพฯ ต้องนั่งเครื่องบินไปลงที่หาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทาง เข้าสู่ตัวเมืองสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร

สายการบินที่ให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ คือ การบินไทย โทร. 0 2356 1111 www.thaiairways.com ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 www.airasia.com นกแอร์ โทร. 1318, 0 2900 9955 www.nokair.com วันทูโก โทร. 1126, 0 2229 4100-1 www.fly12go.com

การเดินทางภายใน สตูล
ในตัวเมืองสตูลมีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการ ยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งสตูล โทร. 0 7471 1446
รถสองแถวและรถรับจ้างจอดอยู่ตามจุดต่างๆ ในจังหวัด เช่น หน้าตลาดเทศบาล หน้าสถานีขนส่ง และสถานีรถไฟ ค่าบริการมีทั้งแบบตกลงกันตามแต่ระยะทางและแบบเหมาจ่าย

ระยะทางจากอำเภอเมืองสตูลไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอควนโดน 21 กิโลเมตร
อำเภอท่าแพ 28 กิโลเมตร
อำเภอควนกาหลง 32 กิโลเมตร
อำเภอละงู 50 กิโลเมตร
กิ่งอำเภอมะนัง 50 กิโลเมตร
อำเภอทุ่งหว้า 76 กิโลเมตร

ของขึ้นชื่อจังหวัด สตูล


ชาชัก



       ของขึ้นชื่อของสตูล และเป็นจุดเริ่มต้นของชาชักแห่งแรกในไทย โดยคุณวรรณา แช่ตัน เจ้าของร้านขอบคุณสตูลคิดหาเครื่องดื่มที่เหมาะทานคู่กับโรตี ฝึกชงชาชักที่ได้ดูและชิมในมาเลเซีย มาพัฒนาสูตรในแบบของตนเอง ชาชักสตูลนิยมทานคู่กับโรตีแกงแพะ แกงไก่ หรือแกงเนื้อ เพิ่มรสชาติในการดื่มชาชักให้กลมกล่อมยิ่งขึ้น

ข้าวเหนียวอัดหรือเหนียวเขียว

       เป็นขนมพื้นเมืองของชาวจีนในสตูล โดยเฉพาะใน ต.ฉลุง และ ต.พิมาน อ.เมืองสตูล เป็นข้าวเหนียวผสมน้ำดอกอัญชัญนึ่งกับ กะทิ เกลือ และสารส้ม แล้วอัดข้าวเหนียวลงในลังไม้ให้แน่น จนได้ข้าวเหนียวอัดตามขนาดของลังไม้ นำมาหั่นหรือตัดเป็นชิ้นตามที่ต้องการ รับประทานกับสังขยา

แกงตอแมะห์


         มาจากภาษามลายูว่า ตูมิห์ (TUMTH) หมายถึง การผัดเครื่องแกงคลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำกะทิสดหรือน้ำมัน เป็นอาหารพื้นเมืองของชาวมุสลิม ในมาเลเซีย และมาเป็นอาหารพื้นเมืองชาวสตูล รับประทานกับข้าวมัน หรือโรตี ทำจาก ปลา, กะทิ, มะขามเปียก, ขมิ้น, พริกแห้ง, หอมแดง, เครื่องเทศและสมุนไพรอีกหลายชนิด

ปัสมอส

       อาหารท้องถิ่น เสน่ห์ของเมืองสตูล เนื่องจากสตูลนั้น ร้อยละ 80 นับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมการกินจึงเป็นอาหารพื้นถิ่นที่ค่อนข้างหลากหลาย มีอาหารมากมายให้ได้ลิ้มลอง ต่อให้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปแต่รสนิยมการกินของคนสตูลก็ยังคงนิยมทานอาหารแบบท้องถิ่นอยู่ดี เราจึงเปลี่ยนบรรยากาศพาท่านผู้อ่านแวะทานอาหารท้องถิ่นที่คนสตูลนิยมทานกันมากและร้านที่จะพาไปนั้นรับรองได้ว่าเป็นที่รู้จักของชาวสตูลเป็นอย่างดี อาหารที่จะพาไปแนะนำนี้ชื่อทางภาษาถิ่นว่า ปัสมอสหรือภาษาไทยเรียกว่า สลัดแขกประกอบด้วย ไก่ฉีก เนื้อแดง ไข่ต้ม แตงกวา กุ้งทอด ราดน้ำด้วย กั๊วคล้ายๆกับน้ำพริกของขนมจีน ส่วนในด้านรสชาตินั้นทางทีมงานได้ลองชิมต้องยกนิ้วให้เลยคะ ว่าสมชื่อราคาคุยเลยทีเดียว เพราะรสชาติของน้ำกั๊วนั้นทั้งหวานทั้งมันกลมกล่อมเข้ากับเครื่องเคียงที่จัดตั้งเรียงรายอยู่ในจาน ด้านคุณค่าทางอาหารก็ครบสมบูรณ์แบบเลยทีเดียว คุณนอริยะ นิสาและ เจ้าของร้านโซเฟีย 1 เล่าให้ฟังว่า เปิดร้านขายอาหารมาเกือบ 30 ปีแล้ว ลูกค้านิยมสั่งปัสมอสมาทานทุกครั้ง ลูกค้าบอกว่ารสชาติปัสมอสของร้านโซเฟียจะแตกต่างกับร้านอื่น ในรสชาติซึ่งเป็นสูตรเฉพาะที่ได้มาจากบรรพบุรุษ คนสตูลถ้านึกอยากทานปัสมอสก็ต้องมาร้านโซเฟีย

บุหงาปูดะ


          เป็นภาษามลายู คำว่า บุหงา แปลว่า ดอกไม้ ส่วนปุดะ แปลว่า ดอกลำเจียก ดังนั้นถ้าจะเรียกขนมชนิดนี้ให้ง่ายขึ้น ก็ให้เรียกว่า ขนมดอกลำเจียก ขนมบุหงาปุดะเป็นขนมที่มีรสหวาน กลิ่นหอม หน้าตาน่ารับประทาน เป็นขนมท้องถิ่นของชาวจังหวัดสตูล นิยมทำกินกันในเทศกาลฮารีรายอ (บางที่ใช้ฮารีรายา) ซึ่งก็คือวัดอีด หรือวันตรุษอีด หรือเรียกว่าวันใหญ่ก็ได้ เป็นวันละศีลอดของชาวมุสลิม โดยจะจัดเป็นงานเลี้ยงรื่นเริง เฉลิมฉลอง ถือเป็นงามมงคลสำหรับคนมุสลิม โดยในงานจะมีการทำขนมบุหงาปุดะมาเลี้ยงต้อนรับ หรือทำกินกันเองในครอบครัว โดยในอดีต ขนมบุหงาปุดะจะหากินได้ตามเทศกาล หรืองานมงคลเท่านั้น แต่ปัจจุบันสามารถหาได้ตามท้องถิ่นที่มีชาวมุสลิมอาศัย ขายกันเป็นของฝากติดโอท็อปเสียด้วย ซึ่งเจ้าขนมบุหงาปุดะนี้มีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำจากมะพร้าวทึนทึก แป้งข้าวเหนียว น้ำตาล เกลือ น้ำ และกะทิ หซินะ หวันตะหลา กำลังสาละวนอยู่หน้าเตา โดยมีกระทะก้นลึกตั้งไฟอ่อนๆ ร่อนแป้งข้าวเหนียวที่ผ่านการคลุกเคล้ากับน้ำ และเกลือป่น โดยแป้งต้องไม่นิ่ม และไม่แข็งเกินไป นำไปใส่ในตะแกรงร่อนเป็นผงลงกระทะ โดยให้แป้งเกาะกันเป็นแผ่นบางๆ ส่วนสีสันสดใสของไส้นั้น ได้มาจากมะพร้าวสดขูด นำมาคั่วผสมกับน้ำตาล แล้วเติมสีสันด้วยอัญชัน ใบเตย ฯลฯ เมื่อแป้งได้ที่ก็ใส่ไส้ลงไป ห่อออกมาแล้วรูปร่างหน้าตาเหมือนหมอนใบสวยในปลอกหมอนสีขาวพร้อมเสิร์ฟ รสชาตินั้นหวานกำลัง หอมกะทิและมะพร้าว ขนมบุหงาปุดะจัดเป็นของดีขึ้นชื่อของจังหวัดสตูล หากินที่อื่นเห็นจะลำบาก ถ้ามีโอกาสมาเยือนถิ่นดินสตูลแล้ว ควรลองกินดูสักครั้ง ถ้าชอบจะซื้อติดไม้ติดมือเป็นของฝาก คนที่นี่คงจะยินดีเป็นอย่างยิ่ง


งานเทศกาล ประเพณี ประจำจังหวัดสตูล



 1. งานมหกรรมเทศกาลโรตีของดีเมืองสตูล
         เป็นการแสดงและจำหน่ายโรตีของจังหวัดสตูล ที่มีหลากหลายประเภท โดยเฉพาะการจัดทำโรตีลอยฟ้า การโชว์ชาชัก โดยจะจัดเดือนมกราคมของทุกปีติดต่อกันมายาวนาน

2. งานแข่งขันว่าวประเพณีจังหวัดสตูล

          จัดการแข่งขันครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2519 มีว่าวเข้าแข่งขันประมาณ 50 ตัว และได้มีการจัดการแข่งขันเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และสร้างความสัมพันธ์อันดี กับประเทศเพื่อนบ้านโดย จะจัดขึ้นในเดือน กุมภาพันธ ของทุกปี ณ บริเวณสนามบินสตูล ก่อนถึงเขตเทศบาลเมืองสตูลประมาณ 4 ก.ม.


3. งานแข่งขันการตกปลา

          "ตะรุเตา - อาดัง ฟิชชิ่งคัพ" เป็นการแข่งขันตกปลาที่มีผู้เข้าร่วมแข่งขันทั้งในและต่างประเทศจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย มีการแห่ขบวนมัจฉา การประกวดหุ่นปลา และการแสดงศิลปพื้นบ้านของชาวสตูล จัดเดือนมีนาคมของทุกปี


4. งานวันข้าวโพดหวานอำเภอท่าแพ
      เป็นงานประจำปีของอำเภอ ภายในงานมีการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรที่ขึ้นชื่อ คือ ข้าวโพดหวาน ซึ่งมีรสชาดหวานอร่อย จัดประมาณเดือนมีนาคมของทุกปี

5. งานวันเมาลิดกลางจังหวัดสตูล
          เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเป็น การรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด เพื่อเป็นการส่งเสริมสถาบันศาสนาอิสลามและเพื่อผนึกกำลังของพี่น้องมุสลิมใน การร่วมกันแก้ปัญหาที่สำคัญของจังหวัด จัดเดือน พฤษภาคม ของทุกปี

6. งานประเพณีลอยเรือของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ
           ซึ่งทำกันปีละ 2 ครั้ง คือ ในเดือน 6 (พฤษภาคม) และเดือน 12 (พฤศจิกายน) โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลอยบาปและเป็นการเสี่ยงทายในการประกอบอาชีพได้กระทำกันมานานแล้ว ผู้ริเริ่ม คือ โต๊ะฮีหลีซึ่งชาวเลถือว่าเป็นบรรพบุรุษคนสำคัญ เพราะเป็นผู้บุกเบิกเกาะนี้เป็นคนแรก และเป็นที่เคารพนับถือของชาวเลเป็นอย่างยิ่งในขณะมีชีวิตอยู่

7.งานวันจำปาดะและของดีเมืองสตูล
           เป็นการแสดงสินค้าผลิตผลด้านการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ที่สำคัญของจังหวัด จัดเดือน กรกฎาคม ของทุกปี

8. งานมหกรรมอาหารจานเด็ดและของดีเมืองสตูล
           เป็นงานแสดงฝีมือการทำอาหาร พื้นบ้านของชาวสตูล ภายในงานมีอาหารจำหน่ายจำนวนมากล้วนเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อ ของจังหวัดสตูล โดยจะจัดงานประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี

9. งานประเพณีถือศีลกินเจ
          เป็นงานประเพณีของคนไทย เชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดสตูล จัดขึ้นประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ณ บริเวณศาลเจ้าโป้เจ้เก้ง อำเภอเมืองสตูล เทศกาลกินเจเป็นความเชื่อของชาวจีนที่ถือเอาวันที่ 1 เดือน 9 ของทุกปี


10. งานเปิดฤดูกาลท่องเที่ยวทางทะเลจังหวัดสตูล
             มีเป้าหมายหลักเพื่อท่อง เที่ยว ณ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ที่มีหาดสวย น้ำใส หาดทรายขาว เช่น เกาะอาดัง เกาะหลีเป๊ะ โดยเฉพาะเกาะตะรุเตา ซึ่งเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ชมการแข่งขันหนีนรกตะรุเตา ชมการแสดงแสง สี เสียง และวิถีชีวิตของชาวเล จัดเดือนธันวาคมของทุกปี